วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

 
นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
 1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ มีความสะดวกมาก จะส่งเวลาไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตใช้เพราะบางทีเวลาในคาบเรียนน้อยไม่พอต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน   เวลาทำงานเสร็จก็จะได้ส่งเลยไม่ต้องรอส่งในคาบเรียนและไม่ต้องพิมพ์ลงกระดาษ
 2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ  
ตอบ     ได้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบล็อกมากและวิธีการตกแต่งบล็อกให้สวยงาน น่าสนใจ  การใช้เครื่องมือในการเสนองานและวิธีการนำเสนองานได้หลากหลาย ได้วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อกเป็นการประหยัดเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์
 3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ   ข้อดี  จากการเรียนวิชากาจัดการในชั้นเรียน โดยวิชานี้มีความแตกต่างกับวิชาอื่นโดยอาจารย์ได้สอนความรู้ใหม่ๆ   ความรู้ในการทำ Web Blog เป็นของตัวเอง จึงประทับใจ
          ข้อเสีย การสอนของอาจารย์อาจจะไม่ละเอียดในด้านเนื้อหามากนัก  โดยเกิดความลำบากในการเรียน   จึงเกิดปัญหาในการเรียน และทุกคนยังไม่มีคอมที่จะใช้งาน                                     
         ข้อเสนอแนะ ถ้าหากอาจารย์จะสอนการใช้ Web blog แล้วละก็ควรที่จะหาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเรียน
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์เลือกตอบข้อเดียว                                        
(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้


1.Classroom management เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียนโดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับครูผู้สอนและครูก็จะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้เรียนด้วย
 2. Happiness Classroom การจัดห้องเรียนให้มีความสุขโดยครูกับนักเรียนต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอนและเด็กกับครูก็จะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่างกันออกไป
 3. Life-long Education หมายถึง การรับรู้ ทักษะ และเจตคติตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆโดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างอย่างมีระบบหรือไม่มีระบบทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลเกิดการพัฒนาด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ
 4. Formal Education เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา
 5. Non-formal education หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือกระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนทั้งที่เป็นทัศนคติทักษะและความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
 6. E-learning   การเรียนการสอนในลักษณะหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซเรย์ หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม
 7. Graded การเรียนระดับชั้น ก็คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก
 8. Policy education นโยบายการศึกษาด้านการศึกษามีดังนี้  
      1.ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต
     2.ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ
     3.พัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ได้ครูดีครูเก่งมีคุณธรรมมีคุณภาพและลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียนมีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครูควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า
     4.จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี๑๕ปีตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายพร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากร
     5.ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศโดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดี
     6.ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
     7.ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
      8.เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชนโดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติและยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก
9.Visionวิสัยทัศน์คือการสร้างภาพอนาคตหรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคตโดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิมวิสัยทัศน์จะเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญาและมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นจริงซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะ8ประการดังนี้
            1.มุ่งเน้นอนาคต
            2.เต็มไปด้วยความสุข
            3.ความเหมาะสม
            4.สะท้อนความฝันสูงสุด
            5.อธิบายจุดมุ่งหมาย
            6.ดลบันดาลความกระตือรือร้น
            7.สะท้อนความเป็นหนึ่งเดียว
            8.ความมักใหญ่ใฝ่สูง
10. Mission พันธ์กิจมีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธานพันธ์กิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals เป้าหมาย คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้นแต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝันและสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
12. Objective หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงทีเราต้องการจะไปหรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13. backward design การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูพันธ์ใหม่หรือมืออาชีพเพื่อเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกันครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับเพื่อนครูผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติแล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้องและครูควรปฏิบัติในหน้าทีของตนเองให้ดีที่สุด
15.efficiency คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี
16.Economy  เศรษฐกิจคือการกระทำใดๆอันก่อให้เกิดการผลิตการจำหน่ายและการบริโภคซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่างจากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้างดังนี้
        1. การผลิตคือการกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้หากการกระทำใดซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิตและผลของการกระทำก็ไม่เรียกผลผลิตอาจจะเรียกเป็นผลงาน
        2.การจำหน่ายคือการนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำผลผลิตไปสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น
       3.การบริโภคคือการจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วยจะมองเห็นได้ว่าเศรษฐกิจนั้นจะเน้นที่ราคาหรือเงินของบางสิ่งถึงแม้จะมีประโยชน์ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เช่น อากาศสำหรับหายใจแต่เนื่องจากอากาศมีอยู่ทั่วไปซื้อขายกันไม่ได้อากาศจึงไม่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจแต่ถ้ามีคนเอาอากาศนั้นมาบรรจุในภาชนะเพื่อจำหน่ายอากาศเช่นนั้นก็กลายเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจไปดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับราคาหรือเงิน
17. Equity ความเสมอภาคมีหลักความเสมอภาคอาจแยกได้2 ประเภท ดังนี้คือ
            1. หลักความเสมอภาคทั่วไป
หลักความเสมอภาคทั่วไปเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนที่อาจกล่าวอ้างกับการกระทำใด ๆ ของรัฐได้ เช่น ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 ว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน"
            2. หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง
หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง คือ หลักความเสมอภาคที่ใช้เฉพาะภายในขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชายและหญิง ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนั้นยังปรากฏในมาตรา 54 "บุคคลอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ"
พัฒนาการแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและความเสมอในด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญไทย
18. Empowerment   การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจเพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิตวิถีการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19.Engagement การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ
 20.Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วยคือไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กรรู้สึกดีกับองค์กรก็เลยไม่อยากไปไหนแต่ก็ไม่สามารถสร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย20.Project หมายงถึงโครงการคือโครงการ คือกิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์วางแผนและนำไปปฏิบัติพร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดโดยแผนสำหรับกิจการต่างๆต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนดแต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน ดังนั้นโครงการ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
21. Actives คือความอดทนการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไปของเสียของหอมของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ
22.Ladership ความเป็นผู้นำคือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าพยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้นชี้นำผลักดันให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆตามต้องการโดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23.Leaders การเขียนคือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝนการเขียนเป็นการแสดงความรู้ความคิดความรู้สึกความต้องการเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจได้ทราบความรู้ความคิดความรู้สึกความต้องการแล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับเครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษาซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้                                                                                                                           
24. Follows เวลาทำคือเวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของ ไอแซก นิวตันอีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของ อิมมานูเอล คานต์  และ กอตฟรีด ไลบ์นิซบางทีมุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของตนเอง
25.Situations สถานการณ์คือสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับมนุษย์ที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำเดินชีวิตประจำวัน
26. Self awareness  การรู้จักตนคือการเข้าใจความรู้สึกของตนเองและจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาวตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27.Communicatio การสื่อสารคือขบวนการถ่ายทอดความรู้สึกคิดสู่กันในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงการส่งสัญญาณข่าวสารที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สู่กันขบวนการสื่อสารที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และตัวกลางผู้นำข่าวสารไปสู่ปลายทาง การสื่อสารดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารแบบจุดต่อจุด(จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับโดยตรง)หรือแบบกระจาย(จากผู้ส่งไปสู่กลุ่มผู้รับ)
28.Assertiveness คือความกล้าแสดงออกคือพฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์เชิงบวกเพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตนหากเขาไม่เห็นด้วยหรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมอบ
29.Timemanagement การบริหารเวลาการบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น                                                                                                         
30.POSDCoRB  การบริหารงาน–Planningคือการวางแผน  O–Organizingคือการจัดองค์การ S–Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D–Directing คือการสั่งการ Co–Coordinating คือความร่วมมือ R–Reporting คือการรายงาน B–Budgeting คืองบประมาณ
31.Formal  การพูดอย่างเป็นทางการได้แก่การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตองเป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกันเป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูดซึงสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ภาษาต้องสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
32. Informal Leaders ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานเพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหรือให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ
33. Globalization คือโลกาภิวัตถ์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้นคือสภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันจนเกิดแบบแผนและพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
34. Environment คือความสามารถเชิงสมรรถนะหรือสมรรถนะหมายถึงคุณลักษณะทั้งในด้านทักษะความรู้และพฤติกรรมของบุคคลที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงานที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
35. Organization Cultural คือวัฒนธรรมองค์กรพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยกันเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
36. Individual Behavior คือพฤติกรรมของคนแต่ละคนทัศนคติของผู้คนที่อยู่ในสังคมตั้งสองคนขึ้นไป  
37.Organization Behavior  คือแนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การได้แก่ความสามารถความคาดหวัง
38.Team working  คือการทำงานเป็นทีมเป็นวิธีที่ดีในการดึงขีดความสามารถของบุคคลมาใช้ทีมที่มีสมรรถนะการทำงานสูงต้องมีความเชื่อถือไว้ใจซึ่งกันและกันระหว่าสมาชิกในทีม
39.SixThinkingHats คือ หมวกหกใบหกสีแต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้าสีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวกสีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาวสีขาวเป็นกลางไม่มีอคติไม่ลำเอียงหมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลขสีแดงสีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาลและอารมณ์สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์ สีดำสีดำคือข้อควรระวังและคำเตือนซึงจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆสีเหลืองให้ความรู้สึกในทางที่ดีหมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวกรวมถึงความหวังและคิดในแง่ดีด้วยหมวกสีเขียวหมายถึงความคิดริเริ่มและความคิดใหม่ๆสีฟ้าหมายถึงการควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ                                                                                    
 40.Classroom Action Research คือการวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไปหรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่นๆได้เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่นๆการศึกษาปัญหาลักษณะนี้เรียกว่า การวิจัยในชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ       ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน  การจัดการชั้นเรียนในความหมายโดยทั่วไปคือ การจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่า การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  การจัดการกระบวนการทำงาน ประกอบด้วย  การวางแผน (planning)  การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่  การนำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การควบคุม เป็นการจัดระเบียบเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยครูจะต้องเข้าใจผู้เรียน มีการเตรียมพัฒนาผู้เรียน ใช้สื่อการเรียนที่เหมาะสม มีการเตรียมการประเมิน ครูจะต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ ต้องมีการเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน
ความสำคัญของการจัดในชั้นเรียน  กล่าวคือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษาการจัดการการเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้บรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้แก่นักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ทั้งกายภาพได้แก่ การตกแต่งห้องเรียน การจัดโต๊ะเรียน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การร่วมกันสร้างกฎกติกาของการเรียนรู้ในชั้นเรียน  การจัดห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ จัดระเบียบ วางแนวการจัดห้องเรียนที่ดี อาศัยการเริ่มต้นในช่วงแรกให้ดี และปฎิบัติอย่างนั้นมาตลอด จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมาย ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กมีการเรียนรู้มากที่สุด
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพ  จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ  จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
ครูต้องมีความรู้ในเรื่อง ดังนี้    
1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู    
2.  การพัฒนาหลักสูตร    
3.  การจัดการเรียนรู้    
4.  จิตวิทยาสำหรับครู    
5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา    
6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน      
7.  การวิจัยทางการศึกษา    
8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา    
9.  ความเป็นครู
ประสบการณ์  ผู้จะเป็นครูต้องมีประสบการณ์ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพ(คุรุสภา) รับรอง
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด 
มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ    ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญ   เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ             
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์       
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
มาตรฐานการปฏิบัติตน   หมายถึง   ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ  โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ  เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง  ฐานะ  เกียรติ  และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ  ตามแบบ
มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ จรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู              
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย 

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ตอบ ผมมีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนในชั้นเรียนที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ผู้เรียนได้เกิดองค์ความรู้ที่ว่า เก่ง ดี มีสุข มากน้อยเพียงใด คำว่า เก่ง ดี มีสุขเป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก แม้แต่ผมเองยังพูดแต่คำว่า เก่ง - ดี - มีสุข แต่ความหมายจริง ๆ หมายความว่าอะไร ยังไม่รู้เลย ผมจึงหาความหมายของ เก่ง ดี มีสุข ในแง่ต่าง ๆ มาเพื่อเป็นการศึกษา
การศึกษา คำว่า เก่ง ดี มีสุข มีความหมายดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง  สามารถนำไปใช้ได้  วิเคราะห์เป็น  สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพทักษะปฏิบัติ คือ มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา
ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ
มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต
สำหรับความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข โดยมีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้อื่น
ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม
สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข ประกอบด้วย

สรุปได้ว่า หากชั้นเรียนใดมีสิ่งเหล่านี้ก็แสดงเด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่ดีตามมาก็เท่ากับว่าการจัดการเรียนการสอนนั้นย่อมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
- การจัดค่ายเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
- การทัศนะศึกษา

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย 
ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา ข้อ (1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ       (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน ทางโรงเรียนควรสถานที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้สภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน และอาคารประกอบมีระเบียบ สวยงาม มีคุณภาพที่ดี โดยให้การศึกษากับผู้เรียนที่ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
                (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย จัดทำส่งเสริมอาคารเรียนให้น่าเรียน มีความสะอาดทันสมัย และสิ่งที่ต้องคำนึงที่สุดคือความปลอดภัยของอาคารเรียน เพื่อให้นักเรียนมีอาคารประกอบมีสภาพที่ดีและมั่นคงต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสันสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่วางของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบ คุณภาพผู้เรียนตามที่ผมเข้าใจมีดังนี้
1.ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความกตัญญูกตเวที  มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
2.ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น   รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
3.ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต เช่น มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ เพียรพยายาม ขยัน  อดทน  ละเอียดรอบคอบในการทำงาน  ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง  ทำงานร่วมกับผู้อื่น
 4.ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ เช่น สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม   สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
5.ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล   สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
6.ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี เช่น มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่นป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อ  ความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ

6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   วิธีการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม
                1. การให้นักศึกษาได้ค้นพบคุณธรรม จริยธรรมจากประสบการณ์ตรงจากเนื้อหาของกิจกรรมหรือตัวบุคคลต้นแบบ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
                                1.1 การนำนักศึกษาไปศึกษาและปฏิบัตินอกสถานที่ ซึ่งต้องกำหนดให้สอดคล้องกับรายวิชา และตั้งจุดมุ่งหมายของการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
                                                1.1.1 การปฏิบัติธรรม เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้การฝึกสมาธิ และสาระที่จะได้จากการฟังธรรม สนทนาธรรมกับพระวิปัสสนาจารย์ นอกจากนี้ ยังได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัด เช่น การทำความสะอาด การบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เป็นต้น
                                                1.1.2 การปลูกป่า ซึ่งทำทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น โครงการปลูกป่าชายเลนร่วมกับกองทัพเรือ เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ วัฏจักรของชีวิตอันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักศึกษารักและหวงแหนธรรมชาติต่อไป
                                                1.1.3 การชื่นชมสุนทรียะจากงานศิลป์ ตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญ เพื่อปลูกฝังความรัก ความหวงแหนในมรดกของชาติที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
                                1.2 การเชิญบุคคลต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรมมาให้ข้อคิดกับ     นักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนได้กำหนดถึงความเหมาะสมของบุคคลต้นแบบ โดยไม่ได้คำนึงว่า บุคคลดังกล่าวต้องเป็นคน  ที่มีชื่อเสียง โด่งดังระดับชาติ แต่เป็นใครก็ได้ที่สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักการที่ว่า แบบที่ดี เป็นสื่อการสอนที่วิเศษสุด
                                1.3 การศึกษาจากบุคคลตัวอย่างที่ต้องกำหนดให้หลากหลายอาชีพ เช่น แม่ค้าขายไข่ปิ้ง คนขับรถแท็กซี่ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้ไปพูดคุยกับคนเหล่านั้น พร้อมทั้งเก็บหลักฐานและข้อมูลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและส่งผู้สอนเพื่อประเมินผล กิจกรรมนี้ เน้นให้นักศึกษาค้นพบคุณธรรม จริยธรรมและวิสัยทัศน์ที่เป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ความสุขตามจากบุคคลตัวอย่างที่ไปศึกษา
                2. การสอดแทรกโดยใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งทางกลุ่มผู้สอนได้ร่วมกันคัดเลือกสื่อการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและสามารถสร้างจิตสำนึกหรือปลุกเร้าให้นักศึกษาได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่สื่อของรายการคนค้นคนของบริษัททีวีบูรพา ดังรายละเอียดโดยสังเขปในหัวข้อต่อไป
                นี่คือตัวอย่างกิจกรรมที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยกิจกรรมที่จัดขึ้น ส่วนใหญ่ ผู้สอนจะทำการประเมินเพื่อวัดความพึงพอใจในกิจกรรมและเพื่อทราบข้อบกพร่องหรือข้อควรแก้ไขเพื่อให้กิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไปเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบรรลุจุดมุ่งหมายมากขึ้น ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจและแสดงความคิดเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับมากและมากที่สุด