วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์              
                แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่าในวันนี้ กล่าวความสำคัญ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้ำ เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทำให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่องความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทำลายสิ่งของ

คำถามที่ผมได้คิดวิเคราะห์
         1) ในปัจจุบันเด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
            ตอบ ไม่เหมาะสม เพราะ บางคนเรียนหนักมากจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ไม่ออกกำลังกาย ไม่เล่นกีฬา เอาแต่อ่านหนังสือและการเข้านอนก็เป็นสิ่งสำคัญควรจะรักษาเวลาในการเข้านอนหรือนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและอีกอย่างคือการบริโภคก็ควรที่จะควบคุมกินอาหารให้ครบห้าหมู่ทุกวันลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์

        2) ในปัจจุบันเด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด (ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม
              ตอบ เด็กไทยและผู้ใหญ่ในปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในการออกกำลังกายและไม่ค่อยเล่นกีฬาสักเท่าไรนัก เด็กเรียนเสร็จก็จะไปเทียว ส่วนผู้ใหญ่ก็ทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย การวานแผนในการออกกำลังในทุกวันก็ไม่ค่อยมีสักเท่าไรนัก และเวลาไปพบแพทย์ แพทย์มักจะถามเรื่องของโรคประจำตัวโดยไม่ถามถึงกีฬาประจำตัวเพราะคนที่มีโรคประจำตัวมักไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนคนที่ออกกำลังเสมอโรคมักไม่ค่อยมี

        3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
          ตอบ มี แต่ส่วนน้อย ก็เพราะอารมณ์ของเราไม่สามารถบังคับกันได้ เป็นธรรมดาของการแข่งขันที่ต้องมีแพ้ชนะส่วนที่แพ้ก็จะปลอบใจตัวเองด้วยการร้องไห้ ส่วนคนที่ชนะก็จะให้กำลังใจตัวเองและอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความยิ่งดี

       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง) 
         ตอบ มีการส่งเสริม จะเห็นจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะมีกิจกรรมให้นักเรียนได้เล่นและได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งวิชาการควบคู่กับมีสุขภาวะที่แข็งแรง

       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด) 
          ตอบ  ครูประจำชั้นส่วนใหญ่เวลาเปิดภาคเรียนก็จะถามประวัติเด็กก่อน  จะถามชื่อ ที่อยู่ แต่ไม่ค่อยจะถามเรื่องสุขภาพของเด็กและเรื่องการเรียนของเด็กว่าเด็กมีผลการเรียนที่ผ่านมาเป็นเช่นไร เด็กมีปัญหาทางบ้านไหม? นี้คือสิ่งสำคัญที่ครูในอนาคตต้องทำความเข้าใจกับเด็กให้มาก ควรจะดูแลเอาใจใส่เด็กให้มากกว่านี้และเข้าหานักเรียนเด็กจะได้รู้สึกผูกพันกับครู

       6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
          ตอบ อาจจะมีแต่ไม่มากนักเพราะโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นที่วิชาการ เด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงก็จะจัดให้อยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อสะดวกในการดูแลปกครองเด็กโดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่ตามมา ทำให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีความรู้สึกว่าตัวที่มีปัญหาอยู่แล้วกลับเพิ่มปัญหาอีก

       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โป เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชาการควบคุมอารมณ์”)
         ตอบ  ควรจะมีการจัดรายวิชาเลือกให้เด็กได้ควบคุมอารมณ์ และให้เด็กได้เลือกรายวิชาที่ตนเองถนัดเด็กจะได้มีความสุขในการเรียนมากขึ้น

8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
         ตอบ  ถ้าปัจจุบันน้อยมากเพราะครูส่วนใหญ่เน้นที่วิชาการมากโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพจิตของเด็กว่าเด็กรู้สึกอย่างไรกับการเรียนที่เน้นแต่วิชาการ

9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
         ตอบ มีแต่ไม่ทั่วถึงและแบบประเมินรายละเอียดครูควรศึกษาจากพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนก่อน

การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน

กิจกรรมที่12

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

      การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม  ๗ อย่าง  คือ 
) การวิเคราะห์หลักสูตร  ) การวิเคราะห์ผู้เรียน  ) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  ) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  ) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ  ) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ   ) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
         จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ ๒๐ คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

 
      การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
1.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
2.มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
4.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
5.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข
   
แผนการจัดการเรียนรู้
                                                       
                     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ )
            หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องลูกแกะของซาฟียะห์  จำนวน   ชั่วโมง
             แผนการเรียนรู้ที่ ๓  เรื่อง เชี่ยวชาญความรู้     เวลา   ชั่วโมง
                                                                                วันที่…..เดือน…….
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ใน   การดำเนินชีวิต  และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระสำคัญ
         การอ่านในใจเป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องราวได้เพียงคนเดียว ผู้อ่านต้องใช้สมาธิ สติในการอ่าน ศึกษา
คำยาก  ตั้งจุดหมายในการอ่าน อ่านอย่างพินิจ พิจารณาจะทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน
สามารถตอบคำถาม      ลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง และนำไปเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อการเล่าเรื่อง
และเขียนเรื่องได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
               ๑.    อ่านในใจบทเรียนตามหลักการอ่านในใจที่ดีได้ถูกต้อง
               ๒.    ตั้งคำถาม ตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
สาระการเรียนรู้
               ๑.     อ่านในใจบทเรียน เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
               ๒.    การตั้งคำถาม ตอบคำถามของเรื่อง

กระบวนการเรียนรู้
             ๑.   นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๔ - ๖ คน เพื่อเล่น ปริศนาคำทาย โดยครูเป็นผู้อ่านปริศนาคำทาย
            ๒. ร่วมกันสนทนาถึงหลักและวิธีการอ่านในใจ โดยครูแจกใบความรู้ เรื่อง การอ่านในใจ โดยให้ศึกษาหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน
             ๓.   นักเรียนฟังครูแจ้งจุดประสงค์ในการอ่านในใจ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครั้งนี้ เช่น
.   ตั้งคำถาม และตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
.๒   สรุปข้อคิด และใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้

            ๔.    แต่และกลุ่มรับใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี  และทำกิจกรรมตามใบกิจกรรม
            ๕.    แต่ละกลุ่มทำแบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์  เสร็จแล้วส่งครูตรวจ
           ๖.      ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว โดยครูเน้นให้นักเรียนนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องความสามัคคี
             ๗.   นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว

สื่อ/อุปกรณ์
       ๑.      ปริศนาคำทาย
      ๒.    ใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี
      ๓.     แบบฝึกหัดที่ ๓  เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์
      ๔.     แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว

แหล่งเรียนรู้
           ๑.ห้องสมุด
           ๒.ห้องเรียน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
.  วิธีการวัดผลและประเมินผล
.  การสังเกต
การอ่านในใจ
.  ตรวจผลงาน
..  แบบทดสอบหลังเรียน
..  แบบฝึกหัดที่ ๓
๒.   เครื่องมือประเมินผล
.  แบบสังเกตการอ่านในใจ
.  แบบประเมินการตรวจผลงานการตั้งคำถาม (ใบกิจกรรม)
๓. เกณฑ์การประเมิน
.  สังเกตอ่านในใจ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
.  การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
การบูรณาการ
          เสริมทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  บูรณาการเข้าในวิชาภาษาไทย

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ห้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
 
ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ ๑๑ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่  และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา  ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม ๕๐ ชุด แต่ละชุดมี ๑๑ แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดัง กล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ.  ๒๔๘๓ ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่  คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิด สงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด ๒๒ วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืน จังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และ พระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิด สงครามโลกครั้งที่  รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี         พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภาย หลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ และในปีต่อมา เมื่อวันที่  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม ๑๓ คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม  คน
กระทั่งวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง  ต่อ  และในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำ ภายในสิบปี หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิด สงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ปีต่อมาก็ถูก เขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑

๒. กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เพราะ นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?
แต่ ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้
นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
         คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ
        เป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
         ทำ ให้นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทาง ทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี (The Cambodia Daily)โดยระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
          ฝ่าย ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา (ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น

3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาล นายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
          สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง  ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
          “ผม คิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าว
กองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร

4)  กรณี คนไทย ๗ คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก ๒ ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขต พื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่  ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี   คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ  คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง
อย่าง ไรก็ดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง  คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว
ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง คน ไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน

ความคิดเห็น

คำถามของนักศึกษาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนสอน

เรื่อง คำถามของนักศึกษา
1 - จากที่การที่ได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้ Weblog หรือฺ Blog   การใช้งานนี้มีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไร

ตอบ จุดเด่นของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ
- ทำให้การเรียนมี รสชาติ น่าสนใจ ตื่นเต้น อยากเรียนมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนในรายวิชานี้
- ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ weblog ซึ่งเป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย เหมาะกับการเป็นครูพันธุ์ใหม่ด้วย
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียน weblog ไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในการเป็นครูพันธุ์ใหม่ในอนาคตได้ และประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย
- การเรียนวิธีใช้ weblog ยังเป็นการเรียนที่ทันสมัย และสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาไม่จำเป็นต้องศึกษาในห้องเรียนเท่านั้น
- Weblog เป็นสื่อการเรียนที่กว้างไกล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และการศึกษาที่กว้างไกลไร้ขอบเขตนี้ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ทันสมัย อีกทั้งสามารถศึกษาได้ทั่วประเทศ
- สามารถเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นได้ศึกษาผ่าน weblog ได้อีกด้วย
- เป็นการเก็บสะสมผลงาน และโชว์ผลงานของเราให้กับผู้อื่นได้ชื่นชมด้วย
- Weblog เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้ที่สามารถสอนได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ เก่ง ฉลาด รอบรู้ และมีความทันสมัย
- การศึกษา weblog ถึงไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานี้ แต่อย่าลืมว่าการศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเสมอ
จุดด้อยของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ

- การใช้ weblog ในการเรียนรายวิชานี้ไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่เรียน
- ต้องเสียเวลาไปกับการตกแต่งหรือกรอกข้อมูลลงไปใน weblog
- ข้อมูลบางอย่างเราไม่สามารถเผยแพร่ทาง weblog ได้
- ในการทำ weblog ต้องใช้คอมพิวเตอร์และ internet จึงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง

ข้อเสนอแนะ
ผู้สอนควรสอนในรายวิชานวัตกรรมทางการศึกษามากกว่าที่จะสอนในรายวิชานี้ แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่ผู้สอนได้สอนผม เพราะเมื่อก่อนรู้จักมานานพอสมควรแต่ไม่รู้จะใชงานอย่างไร  เมื่อได้ศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนแล้วทำให้ผมรู้สึกว่า ผมทันสมัย ภาคภูมิใจ เกิดองค์ความรู้ใหม่ และผมขอสัญญาว่าจะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนผู้ที่สนใจที่จะทำ weblog อีกด้วย สุดท้ายนี้ขอให้ผู้สอนมีสุขภาพกาย และใจที่สมบูรณ์แข็งแรง และประสบความสำเร็จต่อไป เป็นกำลังใจให้ ขอขอบคุณครับ

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่  ๙ (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)

ครูจะต้องมีคุณสมบัติ
           ๑. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
           ๒.  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิด ประโยชน์แก่ตนและสังคม 

           ๓.ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว

           ๔. ความเป็นผู้มีความคิด ริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
           ๕. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
           ๖.ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ สังคม
          
๗. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
           ๘. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
           ๙. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
         ๑๐. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปันเกื้อกูลผู้อื่นในเรื่องของเวลากำลัง กายและกำลังทรัพย์
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง          ๑.   ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
          ๒มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
          ๓.   มีบุคลิกภาพที่ดี
          ๔.  มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
          ๕.  มีความอดทน
          ๖.   มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
          ๗.  มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้ 
          ๘.  มีความจริงใจ
           ๙.  มีลักษณะเป็นผู้นำ
               คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความ สามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือ สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็น ตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคนแต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
             ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจ รัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ"คือมีความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่ สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ในสังคมไทยการพัฒนาเพื่อเป็นครูที่ดีนั้นสามารถใช้หลักปฏิบัติทาง พุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่างเช่น หลักอิทธิบาทซึ่งประกอบด้วย
                ๑.ฉันทะคือความพอใจในสิ่งนั้นในที่นี้หมายถึงความพึงพอใจในอาชีพครูซึ่งเมื่อมีความพอใจเป็นอันดับแรกแล้วจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา
                    ๒.วิริยะคือความเพียรพยายามเมื่อครูพึงพอใจสนใจเอาใจใส่ต่ออาชีพของตนเองแล้ว
              ๓.จิตตะคือความตั้งใจจริงเอาใจใส่ฝึกฝนเพื่อเป้า หมายในการเป็นครูที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการเป็นครูที่ดีนั้นสามารถ ฝึกฝนได้ถ้ามีความตั้งใจจริงแหล่งข้อมูลต่างๆที่จะใช้เพื่อเป็นแนวทางมีมาก มาย
                   ๔.วิมังสา คือความหมั่นติตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นในขั้นนี้ถือเป็นขั้นสำคัญเพราะ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มามากมายจะไม่มีประโยชน์อะไรถ้าปราศจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อนำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลต่างๆเหล่านั้นมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถาบันการศึกษาที่สภาพแวดล้อมแตกต่างกันมากมาย