วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
แผนที่ความคิด คือ แผนที่ความคิด ( Mind Map) การนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง หรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซึก คือ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา
สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษา สัญลักษณ์ ระบบ  ลำดับความเป็นเหตุเป็นผล   ตรรกวิทยาฯ
สมองซีกขวา ทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีเส้นประสาทส่วนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและขวา ให้ทำงานประสานกัน
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) สามารถนำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
การเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
การสอนแบบหมวก 6 ใบนั้น
การสอนแบบหมวก 6 ใบนั้นมันจะคลอบคลุม พฤติกรรมทุกด้านที่สามารถนำไปปฎิบัติตามได้โดยมีรายละเอียดดังนี้
หมวกคิดสีขาว
                การคิดแบบหมวกสีขาวเป็นระเบียบวิธีและแนวทางในการเสนอข้อมูล  นักคิดต้องพยายามเป็นกลางให้มากและไม่ควรมีอคติ  สีขาวชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง  ข้อมูลครอบคลุมได้ตั้งแต่ข้อเท็จจริงและตัวเลขที่ตรวจสอบได้  ไปจนถึงข้อมูลที่ไม่แน่นอน  เราจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิด  เพื่อเป็นความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น  และเราก็สามารถใช้หมวกสีขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน  เพื่อทำการประเมิน  เช่น  เสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่  ส่วนที่สำคัญของหมวกสีขาวคือ  การ ระบุถึงข้อมูลที่จำเป็นและขาดหายไปหมวกขาวจะบอกถึงปัญหาที่ควรจะยกขึ้นมาถาม และแสดงวิธีการเพื่อให้ได้มาเพื่อข้อมูลทีจำเป็นและมุ่งไปสู่การเสาะหาและตี แผ่ข้อมูล
หมวกคิดสีแดง
                การใช้หมวกสีแดงจะทำให้มีโอกาสเปิดเผยความรู้สึก  อารมณ์  สัญชาตญาณหยั่งรู้ออกมาโดยไม่ต้องมีคำอธิบายหรือหาเหตุผลใด ๆ  สัญชาตญาณอาจจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมา  เจตนารมณ์ของหมวกแดงคือ  การแสดงความรู้สึกอย่างที่เป็นอยู่ออกมา  ไม่ใช่การบีบบังคับให้ตัดสินใจ  อารมณ์ทำให้ความคิดยุ่งเหยิง   หมวกสีแดงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการช่วยให้อารมณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล  ยอมรับได้   สิ่งที่ยากที่สุดในการสวมหมวกสีแดงคือ  การฝึกความรู้สึกที่ยากจะหาเหตุผลให้กับอารมณ์ที่แสดงออกมา  ซึ่งการหาเหตุผลนั้นอาจถูกหรือผิดก็ได้
 หมวกคิดสีดำ
               หมวกคิดสีดำ  คือหมวกแห่งการระแวดระวังภัย  ในการพิจารณาข้อคิดเห็น  ข้อเสนอแนะหรือเรื่องอะไรก็ตาม  เมื่อถึงจุดหนึ่ง  เราก็ต้องนึกถึงความเสี่ยง  อันตราย  อุปสรรค  ข้อด้อยหรือปัญหาที่อาจจะเกิด  หมวกสีดำชี้ให้เห็นชี้ให้เห็นสิ่งที่เราควรใส่ใจและไตร่ตรองเพราะมันเป็นจุดอ่อนหรือเป็นอันตราย  เราอาจใช้หมวกสีดำเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน    เราควรเดินหน้าไปกับข้อเสนอนี้ไหม  หรืออาจใช้หมวกสีดำในขั้นตอนการระดมสมองและก่อร่างสร้างแนวคิด  มีจุดอ่อนอะไรบ้างที่เราควรหาทางป้องกันและแก้ไข  หมวกสีดำจะช่วยแจกแจงให้เราเห็นภาพความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดข้น  หมวกสีดำจะมองหาความสอดคล้อง  กับประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือไม่  สอดคล้องกับนโยบายและวิธีการกับจริยธรรมค่านิยม  ทรัพยากร  และสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและประสบการณ์ของผู้อื่นหรือไม่
หมวกคิดสีเหลือง
                การคิดแบบหมวกสีเหลืองเป็นการคิดในแง่ดีและในเชิงสร้างสรรค์  และเป็นการคิดประเมินค่าในทางบวก  รวมไปถึงความฝันและวิสัยทัศน์  การคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการสำรวจหาคุณค่าและประโยชน์แล้วจึงพยามยามจะหาเหตุผลสนับสนุนคุณค่าและผลประโยชน์นั้นๆ   จากความคิดจากหมวกเหลือง  เราจะได้ข้อเสนอและข้อแนะนำที่เป็นรูปธรรม  การคิดแบบหมวกสีเหลืองเกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น    อาจเป็นการคาดการณ์และการมองหาโอกาส  และจะก่อให้เกิดวิสัยทัศน์  จินตนาการและความฝัน
หมวกคิดสีเขียว
                หมวกสีเขียวเป็นหมวกแห่งพลังงาน  หมวกแห่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หมวกสีเขียวจะผลักดันความคิดใหม่ๆออกมาและยังคิดถึงทางเลือกใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ทดแทนของเก่าได้   รวมถึงทางเลือกที่ชัดเจนและใหม่สดจริงๆ  เมื่อเราสวมหมวกเขียวเราหาวิธีปรับเปลี่ยนและปรับปรุงความคิดใหม่ที่เสนอมา  การค้นหาทางเลือกเป็นพื้นฐานของหมวกคิดสีเขียว  เราจะต้องไปให้ไกลกว่าความคิดเห็นที่รู้กันแล้วหรือเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว  ความคิดอาจหยุดเพื่อคิดสร้างสรรค์เพื่อพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นๆอีกหรือไม่  โดยไม่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมจึงต้องหยุด  เราใช้การเลื่อนไหวความคิดเข้ามาแทนที่การตัดสินพิจารณาความคิด   การคิดเคลื่อนไหวไปข้างหน้า  เพื่อไปให้ถึงความคิดใหม่  ความคิดเชิงยั่วยุใช้เพื่อกระตุกเราให้หลุดจากแบบแผนความคิดแบบเดิม  หรือการคิดนอกกรอบ
หมวกคิดสีฟ้า
                หมวกคิดสีฟ้าจะกำหนดประเด็นที่เราจะต้องคิด  กำหนดความสนใจ  อะไรคือปัญหาอะไรคือคำตอบ  หมวกสีฟ้าจะกำหนดงานที่จะกำหนดงานคิดที่จะต้องทำ  ตั้งแต้ต้นจนจบและมีหน้าที่สรุป   วิเคราะห์สถานการณ์  และลงมติต่าง ๆ  หมวกคิดสีฟ้าต้องติดตามตรวจสอบการคิดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกติกาการคิด  หมวกคิดสีฟ้าจะหยุดยั้งการโต้แย้งถกเถียง  และยืนกรานตามแผนที่ความคิด  จะคอยดูให้กระบวนการคิดเป็นไปตามกฎเกณฑ์

โครงการ
โครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกัน
องค์ประกอบของโครงการ
โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย
1.1ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น
1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่นเงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ
1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ
1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง
1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่
1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว
1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ในปีเดียว หรือโครงการที่ต้องต่อยอดขยายผลไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ก็ได้ เช่นปีที่ผ่านมาอบรมอาสมาสมัครป้องกันยาเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณนี้ขยายผลโดยใช้รูปแบบและวิธีการเดิมกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้นหรือ โครงการ 1อำเภอ 1โรงเรียน ในฝัน ที่มีการดำเนินงานเป็นช่วง ๆ เป็นต้น
1.7 ระยะเวลาในการดำเนินงาน อาจเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนี้
1.7.1 ปีงบประมาณ นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น จนถึง 30 กันยายน ของปีถัดไป
1.7.2 ปีการศึกษา นับตั้งแต่ วันที่ 16 พฤษภาคม ของปีนั้น จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
2.ส่วนโครงการ
เป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย
2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก
2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง
2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สภาพปัญหา
2.1.4 ความต้องการในการพัฒนา
ควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ
2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้
2.3 เป้าหมาย ปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่นจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คนหรือ คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดีเป็นต้น
2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น “1. เสนอโครงการ 2.อนุมัติโครงการ 3. ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปรายงานผลเพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
2.5 งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่
- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น
- ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น
- ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น
2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่นร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดีเป็นต้น
- วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น
- เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น
2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่นเมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้
ลักษณะของโครงการที่ดี
1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
2. กระชับควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า
3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย
4. มีความเป็นไปได้
5. วัดและประเมินผลได้
6. มีองค์ประกอบครบถ้วน
7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
8. คุ้มค่า
9. แก้ไขปัญหาได้จริง
10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น